มาตรฐาน ISO ของ วินทร์ เลียววาริณ


ผมไม่คิดในเรื่อง 'มาสเตอร์พีซ' เพราะถ้าคิดแบบนั้นมันดูเหมือนมีอีโก้สูงมากไป...
                                                                                                                      
                                                                                           


ผมทำงานแต่ละชิ้นให้ดีที่สุดในมาตรฐานที่ผมกำหนดไว้ งานแต่ละชิ้น ผมมี ISO ของผมคือ "I See Okay" ถ้าผมเห็นว่ามันโอเค มันก็โอเค ซึ่งบางเล่มก็อยู่ใน ISO ระดับสูง บางเล่มก็อยู่ใน ISO ระดับล่างๆ แต่รวมๆ คือมันจะอยู่ในเส้นนี้ ถ้ามันต่ำกว่าเส้นนี้ก็ไม่ออกมา เพราะถ้าคุณส่งงานที่ต่ำกว่า ISO ออกมา โอกาสตายในอนาคตมีสูง ผมไม่คิดฆ่าตัวตายเร็วอย่างนั้น 

งานคุณต้องมีมาตรฐานในระดับหนึ่ง แต่ถ้าคิดว่างานชิ้นใหม่ต้องดีกว่าชิ้นเก่า ชาตินี้เราจะไม่มีงานชิ้นใหม่ออกมาเลย เพราะมันเป็นไปไม่ได้ มันฝืนธรรมชาติของมนุษย์ที่จะทำอย่างนั้น บางคนทำงานชิ้นหนึ่งดีมาก แล้วหวังว่าชิ้นต่อไปจะต้องดีกว่านั้น มันยากมาก 

ในยุคแรกๆ ที่ผมได้รางวัล ผมค่อนข้างจะเกร็ง อย่างเช่น รางวัลช่อการะเกด ผมมีความรู้สึกว่าอยากจะทำงานชิ้นใหม่ให้มันดีกว่าชิ้นเก่า ถ้าเป็นไปได้สักสองเท่า แต่ในความเป็นจริงคือทำไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีมนุษย์คนไหนที่สามารถทำงานในแบบนั้นได้ การเกร็งทำให้งานของเรายิ่งไปกันใหญ่ คือไม่เป็นผลดีกับตัวเองเลย พอผ่านมาระยะหนึ่ง ผมปล่อยวางตรงนี้ได้ มันรู้สึกสบายใจขึ้นเยอะ คือแปลว่า เราไม่รู้สึกว่ารางวัลเป็นสิ่งที่กำหนดวิถีการเขียนงานของเราอีกต่อไป

ถ้าเราไม่เกร็งในจุดนี้ คิดว่าทำงานที่ดีออกมาก็แล้วกัน จะดีมากดีน้อยอีกเรื่องหนึ่ง แต่ก็ยังดีอยู่ก็ 'โอเค'

รางวัลในบ้านเราช่วยทำให้ชื่อนักเขียนเป็นที่รู้จักเท่านั้นเอง ที่เหลือเป็นหน้าที่ของนักเขียนที่จะรักษามันไว้ และถ้าเราไม่เกร็งกับตัวรางวัล ก็แปลว่ามันไม่มีผลอะไร เราก็สามารถผลิตงานด้วยความสบายใจ เรารู้ว่าชิ้นนี้มันอยู่ในระดับที่โอเค ชิ้นนี้รู้สึกพอใจมากๆ ชิ้นนี้พอไปได้ แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ขายได้ ในระดับที่ไม่ทำลายงานตัวเอง การทำงานก็เป็นแบบนั้น

การทำงานศิลปะ ไม่ว่าสายไหนก็ตาม ผลผลิตมันย่อมที่จะมีขึ้นมีลงอยู่แล้ว ตามอารมณ์ ตามสภาพร่างกาย ตามสภาพสังคมเศรษฐกิจของเขาในช่วงเวลานั้น เพราะฉะนั้นบางงานก็ดีมากหน่อย บางงานก็ดีน้อยหน่อย สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษามาตรฐาน ISO ของนักเขียน ก็คือให้อยู่ในคุณภาพที่รับได้ ถ้างานไม่ดี เราก็ไม่ปล่อยออกไป อย่างนั้นจึงจะทำให้เราอยู่ได้ในระยะยาว


เรียบเรียงจาก: บทสัมภาษณ์ใน Open โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ปี 2549
และบทสัมภาษณ์ใน vcharkarn.com ปี 2550

สีนั้นสำคัญไฉน?

เวลาไปใช้บริการธนาคารต่างๆ สิ่งแรกๆ ที่ช่วยให้ลูกค้านึกถึงธนาคารเหล่านั้นได้คือ 'สี'

ธนาคารต่างๆ ได้ใช้สีมาเป็นจุดสร้างความน่าจดจำให้เกิดขึ้นแก่องค์ก
หากถามว่า เวลาเห็นสีม่วงคุณจะนึกถึงธนาคารอะไร... ไทยพาณิชย์ ใช่หรือเปล่า
หรือเห็นสีเขียวนึกถึงธนาคารอะไร... กสิกรไทยมาเป็นอันดับแรกใช่หรือไม่





นั่นแสดงว่า สีมีผลต่อการจดจำของลูกค้า?

การสร้างแบรนด์ด้วยการเน้นสีสัน จะทำให้คนจำง่าย ยิ่งถ้ามีสีแตกต่างไม่เหมือนใคร ก็ยิ่งจดจำได้ง่ายขึ้นอีก
แต่ละธนาคารจึงเน้นการแข่งขันในการสร้างแบรนด์ให้แตกต่าง แต่ให้คนจำง่าย เข้าใจง่าย เพื่อให้แบรนด์ของตนเองเป็นที่รู้จักในวงกว้าง 



ที่มา: Hardcoregraphic.com

Design vs Art


การออกแบบงาน ไม่ยากเท่าการพรีเซนต์งานอย่างไร ให้เขาเชื่อได้ว่าที่เราออกแบบนั้น มันมีหลักการ มีความหมาย ผ่านกระบวนความคิดหลายขั้นตอน และแสดงให้เขาเห็นว่าเราไม่ได้มั่ว

งานออกแบบประเภท Commercial Print จึงแตกต่างจากงานศิลปะ (Art) งานออกแบบเราทำเพื่อรับใช้ลูกค้า รับใช้การตลาด จึงต้องอธิบายได้ว่า ที่เราสร้างมานั้น มันสื่อถึงอะไร ทำหน้าที่อะไร เป้าหมายคืออะไร...

แต่งานศิลปะ เช่น วาดรูป หรือแม้กระทั่งเขียนนิยาย เราไม่จำเป็นจะต้องไปอธิบายความหมายอะไรเลย ควรปล่อยให้คนดูเขาตีความในแบบของเขาดีกว่า เพราะจะได้ไม่เป็นการสร้างกรอบ และปิดกั้นจินตนาการ