มาตรฐาน ISO ของ วินทร์ เลียววาริณ


ผมไม่คิดในเรื่อง 'มาสเตอร์พีซ' เพราะถ้าคิดแบบนั้นมันดูเหมือนมีอีโก้สูงมากไป...
                                                                                                                      
                                                                                           


ผมทำงานแต่ละชิ้นให้ดีที่สุดในมาตรฐานที่ผมกำหนดไว้ งานแต่ละชิ้น ผมมี ISO ของผมคือ "I See Okay" ถ้าผมเห็นว่ามันโอเค มันก็โอเค ซึ่งบางเล่มก็อยู่ใน ISO ระดับสูง บางเล่มก็อยู่ใน ISO ระดับล่างๆ แต่รวมๆ คือมันจะอยู่ในเส้นนี้ ถ้ามันต่ำกว่าเส้นนี้ก็ไม่ออกมา เพราะถ้าคุณส่งงานที่ต่ำกว่า ISO ออกมา โอกาสตายในอนาคตมีสูง ผมไม่คิดฆ่าตัวตายเร็วอย่างนั้น 

งานคุณต้องมีมาตรฐานในระดับหนึ่ง แต่ถ้าคิดว่างานชิ้นใหม่ต้องดีกว่าชิ้นเก่า ชาตินี้เราจะไม่มีงานชิ้นใหม่ออกมาเลย เพราะมันเป็นไปไม่ได้ มันฝืนธรรมชาติของมนุษย์ที่จะทำอย่างนั้น บางคนทำงานชิ้นหนึ่งดีมาก แล้วหวังว่าชิ้นต่อไปจะต้องดีกว่านั้น มันยากมาก 

ในยุคแรกๆ ที่ผมได้รางวัล ผมค่อนข้างจะเกร็ง อย่างเช่น รางวัลช่อการะเกด ผมมีความรู้สึกว่าอยากจะทำงานชิ้นใหม่ให้มันดีกว่าชิ้นเก่า ถ้าเป็นไปได้สักสองเท่า แต่ในความเป็นจริงคือทำไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีมนุษย์คนไหนที่สามารถทำงานในแบบนั้นได้ การเกร็งทำให้งานของเรายิ่งไปกันใหญ่ คือไม่เป็นผลดีกับตัวเองเลย พอผ่านมาระยะหนึ่ง ผมปล่อยวางตรงนี้ได้ มันรู้สึกสบายใจขึ้นเยอะ คือแปลว่า เราไม่รู้สึกว่ารางวัลเป็นสิ่งที่กำหนดวิถีการเขียนงานของเราอีกต่อไป

ถ้าเราไม่เกร็งในจุดนี้ คิดว่าทำงานที่ดีออกมาก็แล้วกัน จะดีมากดีน้อยอีกเรื่องหนึ่ง แต่ก็ยังดีอยู่ก็ 'โอเค'

รางวัลในบ้านเราช่วยทำให้ชื่อนักเขียนเป็นที่รู้จักเท่านั้นเอง ที่เหลือเป็นหน้าที่ของนักเขียนที่จะรักษามันไว้ และถ้าเราไม่เกร็งกับตัวรางวัล ก็แปลว่ามันไม่มีผลอะไร เราก็สามารถผลิตงานด้วยความสบายใจ เรารู้ว่าชิ้นนี้มันอยู่ในระดับที่โอเค ชิ้นนี้รู้สึกพอใจมากๆ ชิ้นนี้พอไปได้ แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ขายได้ ในระดับที่ไม่ทำลายงานตัวเอง การทำงานก็เป็นแบบนั้น

การทำงานศิลปะ ไม่ว่าสายไหนก็ตาม ผลผลิตมันย่อมที่จะมีขึ้นมีลงอยู่แล้ว ตามอารมณ์ ตามสภาพร่างกาย ตามสภาพสังคมเศรษฐกิจของเขาในช่วงเวลานั้น เพราะฉะนั้นบางงานก็ดีมากหน่อย บางงานก็ดีน้อยหน่อย สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษามาตรฐาน ISO ของนักเขียน ก็คือให้อยู่ในคุณภาพที่รับได้ ถ้างานไม่ดี เราก็ไม่ปล่อยออกไป อย่างนั้นจึงจะทำให้เราอยู่ได้ในระยะยาว


เรียบเรียงจาก: บทสัมภาษณ์ใน Open โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ปี 2549
และบทสัมภาษณ์ใน vcharkarn.com ปี 2550

สีนั้นสำคัญไฉน?

เวลาไปใช้บริการธนาคารต่างๆ สิ่งแรกๆ ที่ช่วยให้ลูกค้านึกถึงธนาคารเหล่านั้นได้คือ 'สี'

ธนาคารต่างๆ ได้ใช้สีมาเป็นจุดสร้างความน่าจดจำให้เกิดขึ้นแก่องค์ก
หากถามว่า เวลาเห็นสีม่วงคุณจะนึกถึงธนาคารอะไร... ไทยพาณิชย์ ใช่หรือเปล่า
หรือเห็นสีเขียวนึกถึงธนาคารอะไร... กสิกรไทยมาเป็นอันดับแรกใช่หรือไม่





นั่นแสดงว่า สีมีผลต่อการจดจำของลูกค้า?

การสร้างแบรนด์ด้วยการเน้นสีสัน จะทำให้คนจำง่าย ยิ่งถ้ามีสีแตกต่างไม่เหมือนใคร ก็ยิ่งจดจำได้ง่ายขึ้นอีก
แต่ละธนาคารจึงเน้นการแข่งขันในการสร้างแบรนด์ให้แตกต่าง แต่ให้คนจำง่าย เข้าใจง่าย เพื่อให้แบรนด์ของตนเองเป็นที่รู้จักในวงกว้าง 



ที่มา: Hardcoregraphic.com

Design vs Art


การออกแบบงาน ไม่ยากเท่าการพรีเซนต์งานอย่างไร ให้เขาเชื่อได้ว่าที่เราออกแบบนั้น มันมีหลักการ มีความหมาย ผ่านกระบวนความคิดหลายขั้นตอน และแสดงให้เขาเห็นว่าเราไม่ได้มั่ว

งานออกแบบประเภท Commercial Print จึงแตกต่างจากงานศิลปะ (Art) งานออกแบบเราทำเพื่อรับใช้ลูกค้า รับใช้การตลาด จึงต้องอธิบายได้ว่า ที่เราสร้างมานั้น มันสื่อถึงอะไร ทำหน้าที่อะไร เป้าหมายคืออะไร...

แต่งานศิลปะ เช่น วาดรูป หรือแม้กระทั่งเขียนนิยาย เราไม่จำเป็นจะต้องไปอธิบายความหมายอะไรเลย ควรปล่อยให้คนดูเขาตีความในแบบของเขาดีกว่า เพราะจะได้ไม่เป็นการสร้างกรอบ และปิดกั้นจินตนาการ

เต่าทอง

มีตัวอย่างโฆษณาสวยๆ เรียบง่าย และสื่อสารตรงประเด็นมาให้ดูกันครับ
ชิ้นนี้เป็นโฆษณาปลาหมึก "เต่าทอง" ของโปรดผมเองครับ... 



จริงๆ แล้ว "ปลาหมึก" นั้น ไม่ใช่สัตว์จำพวกปลา แต่ที่เรายังคงเรียกปลาหมึก ก็เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า "หมึก" ที่ใช้ในวงการงานพิมพ์นั่นเองครับ

Cat Therapy

มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เกือบหมื่นปีมาแล้ว ที่แมวอยู่ร่วมกับคน

ไม่ว่าแมวจะมีบุคลิกที่ลึกลับ เข้าใจยากในสายตาคนส่วนใหญ่ แต่สำหรับคนรักแมว ความสัมพันธ์แบบคนและสัตว์เลี้ยงได้พัฒนาไปเป็นความรักใคร่หลงใหล แมวกลายเป็นมิตรสหายคลายเหงาที่นิยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก บางคนขาดแมวไปรู้สึกเหมือนชีวิตขาดความรื่นรมย์ไปหนึ่งอย่าง



คล้ายๆ กับอาการติดกาแฟ

ปี 1998 คาเฟ่แมวแห่งแรกของโลกเกิดขึ้นที่ไต้หวัน การมาพบกันครั้งแรกระหว่างแมวและบรรยากาศอบอุ่นของร้านกาแฟ สร้างอรรถรสของการผ่อนคลายรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครนึกถึงมาก่อน ความรื่นรมย์ระดับร้านกาแฟนั้นเข้ากันได้อย่างลงตัวกับบุคลิกที่ไม่สะทกสะท้านต่อโลกของแมวเป็นที่สุด คาเฟ่แมวจึงเริ่มป๊อบปูลาร์ในหมู่นักท่องเที่ยวนับแต่นั้น

แต่แมวกับกาแฟจับมือกันจุดพลุดังเปรี้ยงได้จริงๆ เมื่อคาเฟ่ลุกลามไปยังญี่ปุ่น
ความเชื่อเรื่องแมวในญี่ปุ่นลงรากฝังลึกมาตั้งแต่ยุคเอโดะ สังเกตได้จากการมีเทพเจ้าแมวกวักเป็นของตัวเอง เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อเกี่ยวกับแมวก็ถูกแปรรูปให้เป็นคาแรกเตอร์และผลิตภัณฑ์น่ารักเต็มไปหมด เมื่อวัฒนธรรมการเสพแมวในคาเฟ่เผยแพร่เข้ามาในปี 2005 ญี่ปุ่นจึงรับมือและจัดการได้ดีกว่าใครๆ

Neko no Mise คือคาเฟ่แมวแห่งแรกในญี่ปุ่น ก่อนจะแพร่ไปยังโตเกียว โอซาก้า และเมืองใหญ่อื่นๆ หลายสิบสาขาในเวลาไม่นาน จนวัฒนธรรมการจิบกาแฟไปเล่นกับแมวไป กลายเป็นความใฝ่ฝันที่คนรักแมวจากทั่วทุกมุมโลกถวิลหา

เหตุผลที่คาเฟ่แมวเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจคนญี่ปุ่นได้ หาใช่ความรื่นรมย์ของการได้เล่นกับแมวเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการตอบโจทย์ปัญหาของชีวิตคนเมื่องในญี่ปุ่นที่ถูกกฎหมายจำกัดสิทธิในการมีเพื่อนเหมียว ด้วยการห้ามเลี้ยงสัตว์ในอพาร์ตเมนต์หรือคอนโดฯ อย่างน้อยการได้มาเล่นกับแมวที่คาเฟ่ก็เป็นการบำบัดความเครียด เติมเต็มบางสิ่งบางอย่างในหัวใจของพวกเขา ให้ยืนหยัดบนโลกแห่งความเปลี่ยวเหงาได้

รอยยิ้มของท่าน คืองานของแมว

แม้หัวใจของคาเฟ่แมวจะเริ่มถูกครอบด้วยบริบททางธุรกิจมากขึ้น แต่คาเฟ่แมวทุกแห่งในญี่ปุ่นก็สร้างกฎเกณฑ์แน่นหนาในการเล่นกับแมว เพื่อไม่ให้คนล้ำเส้นเข้าไปโลกของแมวจนมันขาดอิสรภาพทางใจและสุขภาพทางกายที่ดี พูดง่ายๆ ก็คือไม่ให้เข้าข่ายการทารุนสัตว์ คนใช้บริการคาเฟ่แมวจึงจำเป็นต้องรับรู้และเข้าใจขอบเขตร่วมกันในข้อนี้ เพื่อรักษารอยยิ้มของแมวเอาไว้เช่นกัน

สิ่งที่คาเฟ่แมวมอบให้กับมนุษย์ ไม่ใช่แค่การจ่ายเงินซื้อความสุขแล้วเดินเข้าไปคาดหวังเอาความสุขจากแมวในคาเฟ่ แต่เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้มองแมวเป็นตัวอย่าง

การมีความสุขด้วยตัวเองให้ได้อย่างแมว
อาจเป็นความหมายของการบำบัดด้วยแมวอย่างแท้จริง




ที่มา: "a day" volume 13 number 152 April 2013 คอลัมน์ Switch หน้า 40-41
ภาพประกอบ: Riku-Paradise-Finder

What’s Michael?





มีใครจำเจ้าไมเคิล เหมียวจอมกวนตัวนี้ได้บ้าง?...

ไมเคิล เป็นแมวลายแท็บบี้สีเหลืองส้
ตัวละครเอกจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง What’s Michael? "ไมเคิล แมวจอมกวน"
เขียนโดย มาโกโตะ โคบายาชิ (Makoto Kobayashi) ในปี 1984
ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา

เจ้าไมเคิล โด่งดังด้วยท่าเต้นเลียนแบบนักร้องดัง 
และถือว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกๆ เลยที่แมวมีลักษณะที่สมจริงมากขึ้น
เรื่องนี้เราจะได้เห็นความตลกลึกๆ ของแมว ไม่เน้นคำพูด แต่เน้นท่าทางธรรมชาติของแมวที่แสนเฮฮา






Infographic

"เปลี่ยนการสื่อสารให้เข้าใจง่ายด้วย Infographic"

Infographic ย่อมาจาก Information Graphic
คือ ภาพหรือกราฟฟิกที่บ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข
เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง
ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคนี้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด
เพราะคนเราชอบและจดจำภาพสวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน
และในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมใน Social Network

ด้วยแผนภาพสวยๆ นี้สามารถทำให้คนทั่วๆ ไปเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลปริมาณมากๆ

ด้วยแผนภาพเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น ข้อมูลจะถูกคัดกรองมาเป็นอย่างดี
ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์
ซึ่งเราสามารถหยิบยกเรื่องราวเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องราวใหญ่โตมานำเสนอ
ในมุมมองที่แปลกตา ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน







































รูปตัวอย่างนี้มาจากภาพยนตร์เรื่อง Cloud Atlas
ซึ่งผู้ที่ได้ชมแล้วก็คงทราบดีว่าเป็นหนังที่มีรายละเอียดเยอะมาก
และตัวละครหลากหลาย เพราะเขาได้นำเอาเรื่องราวของผู้คนใน 6 ยุคสมัยที่ต่างช่วงเวลากัน
มาเชื่อมโยงกันไว้ในเรื่องเดียว เป็นหนังที่ซับซ้อนมากที่สุดเรื่องหนึ่ง
พอเรานำเอาข้อมูลมหาศาลมาทำเป็นอินโฟกราฟฟิก

ก็ทำให้เราเข้าใจข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น

Moderncat Begins




















เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลาประมาณช่วงบ่ายๆ

ได้คุยกับผู้จัดการร้านคือ หมอเบียร์ ในเรื่อง "ชื่อร้านใหม่"
ซึ่งก่อนหน้านั้น ประมาณครึ่งเดือน เราได้วางแผนว่าจะเปลี่ยนแบรนด์สินค้า จากเดิมคือ "I am Bully" ให้เป็นแบรนด์ใหม่ โดยเปลี่ยนจากสัญลักษณ์ที่เป็นหมาบูลเทอร์เรีย ให้กลายเป็น แมวเบงกอล

เริ่มแรกก็ต้องคิดชื่อก่อน ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมเป็นคนที่ชอบคำว่า modern กับคำว่า revol- (revolution) มานานแล้ว เพราะว่ามันให้ความรู้สึกของการเปลี่ยนแปลงใหม่หมด ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
จึงใช้สองคำนี้มาประกอบกับคำที่เกี่ยวข้องกับแมว

แต่ก็กลับมาคิดทบทวนว่า มันจะดูง่ายไปรึเปล่า? มันเชยไปรึเปล่า? เพราะเห็นใครๆ เขาใช้กันเยอะแล้ว จึงได้เก็บชื่อที่คิดในตอนแรกไว้ก่อน ซึ่งความคิดในตอนนั้นคือ คัดทิ้งไม่เอาแล้ว ไปหาคำอื่นดีกว่า
หลังจากนั้นก็แตกความคิดไปเรื่อยๆ ได้ชื่อใหม่ๆ มาหลายชื่อ...

แต่วันนั้น พอเสนอไปหลายชื่อ ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เพราะบางชื่อก็เรียกยากเหมือนกัน
สุดท้าย ผมกลับไปนึกถึงชื่อเดิมที่คิดเอาไว้ตอนแรกๆ แต่ไม่ได้เสนอไป คือ modern + cat

หมอเบียร์บอกว่า "เอาชื่อนี้แหละ..."
เป็นอันว่า 'อนุมัติ' ปิดประชุมอย่างง่ายดายในบ่ายวันนั้น...
(ปวดหัวมาเกือบเดือน)

หลังจากนั้น ก็เริ่มต้นออกแบบสัญลักษณ์องค์กร เลือกธีมสี คิดทำสินค้าต่างๆ ซึ่งในตอนแรกตั้งใจว่า จะทำเพื่อขายทางโซเชียลเน็ตเวิร์คเท่านั้น
จนกระทั่งมีโอกาสเหมาะเจาะ จึงได้เปิดหน้าร้านอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา...

วันที่ 3 มีนาคม จึงถือเป็นวันก่อตั้งร้าน Moderncat Design ครับผม